การเลือก Air Filter ปั๊มลม
การเลือก Air Filter ปั๊มลม
Air filter โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- Surface Filter
- Depth Filter
Air Filter ชนิด Surface Filter
เปรียบเสมือนมุ้งลวด หลักการทำงานคือ อนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดของรูของมุ้งลวดจะถูกกั้นไว้ และส่วนที่เล็กกว่าจะผ่านไปได้ ดังนั้นขนาดของการกรองขึ้นอยู่กับขนาดของรูเหล่านี้จะเล็กกว่าหรือใหญ่กว่า
Air Filter ชนิด Depth Filter
ส่วนใหญ่ Air filter ประเภทนี้จะทำมาจากไมโครไฟเบอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ วางซ้อนกันอยู่หลายๆ ชั้น การกรองไม่ได้อาศัยแค่รูเป็นตัวกำหนดความละเอียดในการกรอง แต่อาศัยหลักการกรองทั้งหมด 5 อย่างคือ
- Direct Impact ในกรณีที่อนุภาควิ่งเข้ามากระทบโดยตรงกับไฟเบอร์ก็จะถูกจับยึดไว้
- Inertial Effect ในกรณีที่อนุภาควิ่งแฉลบผ่านไฟเบอร์ ก็จะทำให้อนุภาคมีความเร็วลดลงและเมื่อกระทบกับไฟเบอร์เส้นถัดๆไปก็จะถูกจับยึด
- Diffusion Effect ในกรณีที่อนุภาคเล็ก การเคลื่อนจะไม่เป็นเส้นตรง แต่จะไหลเป็นซิกแซกไปเรื่อยๆ ถ้าสามารถผ่านเส้นไฟเบอร์แรกไปได้ก็จะถูกจับไว้ได้ไฟเบอร์เส้นถัดๆ ไป
- Electrostatic Effect ในกรณีที่อนุภาคเล็กมาก (0.01 ไมครอน) เมื่อเคลื่อนที่ผ่านไฟเบอร์ 2-3 ชั้นแรก ก็จะเกิดการเสียดสีทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตขึ้นในอนุภาค ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไฟเบอณ์ กับ อนุภาคนั้นๆ
- Adsorption Effect เป็นผลจากการวิ่งกระทบไฟเบอร์ของอนุภาคไฟเบอร์ ซึ่งมีความนุ่มในตัวจะจับยึดอนุภาคไว้โดยการดูดซับเข้าไปในเนื้อของไฟเบอร์
Air Filter ที่ดีควรจะประกอบไปด้วย pre-filter stage และ final stage ในตัวเดียวกัน และควรจะมีวัสดุที่ไม่มีสารแม่เหล็กเป็นตัว support ของโครงสร้างของไส้กรอง เพราะดังที่กล่าวไว้แล้ว อนุภาคบางตัวจะเกิด electrostatic effect ซึ่งถ้า support เป็นสารแม่เหล็ก อนุภาคเหล่านี้จะไปเกาะอยู่ที่ support แทน การกรองขั้นตอนสุดท้าย ก็จะมีโฟมหุ้มรอบตัวไส้กรองไว้เพื่อคอยดูดซับน้ำมันและน้ำ และปล่อยให้ตกลงด้านล่างซึ่งต้องมีตัวระบายอัติโนมัติ (Auto-drain) ติดตั้งอยู่ด้านล่าง
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ kaowna.co.th